การสร้างสรรค์ ผ้าทอกะเหรี่ยงหนึ่งผืนนั้น แม่ๆศิลปินของเราต้องนำเส้นด้ายไป “มัด” กำหนดลวดลาย แล้วนำมา “ย้อม” เติมสีสัน หรือที่เรียกกันว่าการมัดหมี่ (Ikat) นั่นเองความพิเศษที่แม่ๆชาวกะเหรี่ยงใช้เทคนิค “มัดหมี่เส้นยืน”(Warp Ikat) ถือเป็นเอกลักษณ์การมัดหมี่ของกลุ่มชาติพันธุ์ Austro Asiatic (ชาติพันธุ์ดั้งเดิมในแถบ Southeast Asia) ซึ่งในประเทศไทย เรามักจะคุ้นชินกับมัดหมี่เส้นพุ่งให้เกิดลวดลายและสีสันต่างๆ.สีสัน จากการมัดหมี่เส้นยืน ได้จากการมัดและย้อม เฉพาะเส้นด้ายที่เป็นโครงสร้างเส้นยืน(เส้นแนวตั้ง)เท่านั้น ส่วนเส้นพุ่ง(เส้นแนวนอน) จะใช้สีพื้น ลวดลายจึงเกิดจากเส้นยืน ความยากอีกขั้น คือ นอกจากการมัดกำหนดตำแหน่งลายแล้ว หลังจากย้อมและตากให้แห้ง แม่ๆต้องใช้ความชำนาญและความแม่นยำอย่างสูง ในการเข้ากี่ให้เส้นยืนเรียงตัวสวยงามอย่างที่จินตนาการไว้.ผ้าทอกะเหรี่ยงจึงไม่ใช่แค่ผืนผ้าหนึ่งผืน แต่คืองานศิลปะแสนวิเศษ ที่เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณและความเชื่อ มีคุณค่าทั้งความงามของสีสันแห่งธรรมชาติ และกระบวนการสรรสร้างอย่างมีวัฒนธรรมสืบรุ่นต่อรุ่นมาอย่างยาวนาน….ครั้งหน้าเรามีความหมายและความเชื่อของลวดลายมาเล่าสู่กันฟังอีกค่ะ อย่าลืมติดตามกันนะคะArt of Textile